เมนู

ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลัง
ทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก
เป็นดังลูกนก เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มี
กำลังย่อมครอบงำนรชนนั้น
แม้ด้วยประการอย่างนี้.

ว่าด้วยอันตราย 2 อย่าง



[22] คำว่า เหล่าอันตราย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า :-
คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ
อย่าง 1 อันตรายที่ปกปิดอย่าง 1.
อันตรายที่ปรากฏ เป็นไฉน ? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสื่อเหลือง
หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร
คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว, และโรคทางจักษุ โรคทาง
โสตะ โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทาง
หู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ
โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด
โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุด-
ทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม
โรคพุพอง โรคริดสีดวง. อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น
สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปร
ปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธรู้สึกเจ็บปวด
อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม, ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ

ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ, ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม
แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ.
อันตรายที่ปกปิดเป็นไฉน ? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโน
ทุจริต. กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุก-
กุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์. ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูก
โกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มายา โอ้อวด หัวดื้อ
แข็งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา ประมาท, กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุศลธรรมทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด.
คำว่า อันตราย ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร จึงชื่อว่าอันตราย ?
เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรม
ทั้งหลายจึงชื่อว่าอันตราย.
เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างไร. อันตราย
เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น
เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย อย่าง
ไร่ ? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศล
ธรรมทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธาน
ไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน ? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ

สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความ
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้มี
ทวารอันคุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความ
ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้อื่นมีสติสัมปชัญญะ ความประกอบเนือง ๆ
ในอันเจริญสติปัฏฐาน 4 ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน 4
ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญอิทธิบาท ความประกอบเนือง ๆ ใน
อันเจริญอินทรีย์ 5 ความประกอบเนือง ๆในอันเจริญพละ 5 ความ
ประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญ โพชฌงค์ 7 ความประกอบเนือง ๆ ในอัน
เจริญมรรคมีองค์ 8 อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่อ
อันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม
จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย อย่างไร ? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น
ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรู ย่อมอยู่
ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้
ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน
อัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่า
เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้
อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน
ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอัน
ลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอัน
ลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น
ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรม
อันลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึง
เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความ
ดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต .............เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ.............เพราะ
ลิ้มรสด้วยชิวหา...........เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย..........เพราะรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปใน
ภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับ
กิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุม
ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วม
กับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะอรรถว่า
เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการ
ฉะนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรม 3 ประการเหล่านี้ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน
เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.
ธรรม 3 ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เป็นมลทินในภายใน เป็น
อมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรู
ในภายใน, โทสะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น
ข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. โมหะ
เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็น
เพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
3 ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึก
ในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า.
โลภะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยัง
จิตให้กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม
ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โลภแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภแล้ว
ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโลภครอบงำนรชน เมื่อนั้น
นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.

โทสะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยัง
จิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม
ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธ
แล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโกรธครอบงำนรชน
เมื่อนั้นนรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.

โมหะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยัง
จิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม
ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลงแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงแล้ว
ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความหลงครอบงำนรชน เมื่อนั้น
นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม 3 ประการ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่ง
บุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่
ผาสุก.
ธรรม 3 ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่ง
บุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่
ผาสุก, โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก. โมหะ เมื่อเกิดขึ้น
ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก. ดูก่อนมหาพิตร ธรรม 3 ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-

โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด
บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัต
ภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดี แต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาป
วิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้ ผูกจิตไว้เหมือน พวกเด็ก
ผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น.

เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตราย
เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น.
[23] คำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชน
นั้นไป
มีความว่า เพราะอันตรายนั้น ๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไป
ตามบุคคลนั้น คือชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ชราทุกข์....พยาธิ
ทุกข์.......มรณทุกข์........ทุกข์คือความโศกคร่ำครวญ ลำบากกาย ทุกข์
ใจ ความแค้นใจ........ทุกข์คือความเกิดในนรก.......ทุกข์คือความเกิดใน
กำเนิดเดียรัจฉาน...........ทุกข์คือความเกิดในเปรตวิสัย.......ทุกข์คือความ
เกิดในมนุษย์.........ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล........ทุกข์มีความตั้งอยู่

ในครรภ์เป็นมูล.........ทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล..........ทุกข์ที่ติด
ตามสัตว์ที่เกิดเเล้ว........ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ที่เกิดแล้ว.........ทุกข์
อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน........ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้
อื่น.........ทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา.........ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร.........ทุกข์
อันเกิดแต่ความแปรปรวน.........
โรคทางจักษุ โรคทางโสด โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรค-
ทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ
โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ
โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรค-
ละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรค-
เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง.
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี
ลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธ
เกิดแต่บริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธ
เกิดแต่วิบากแห่งกรรม.
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ
ปวดปัสสาวะ.
ทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
ทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ทุกข์เพราะ
ความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ทุกข์

เพราะความตายแห่งบุตร ทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ทุกข์เพราะความ
ฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความ
ฉิบหายอันเกิดแค่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความ
ฉิบหายแห่งทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นเพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป.
[24] คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น มี
ความว่าน้ำไหลซึมเข้าสู่เรือที่รั่วแล้ว คือ น้ำย่อมซึมเข้าไป ตามเข้าไป
ไหลเข้าไป แต่ที่นั้น ๆ คือ ย่อมซึมเข้าไป เซาะเข้าไป ไหลเข้าไป
ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างท้องบ้าง แต่ข้าง ๆ บ้าง ฉันใด เพราะ
อันตรายนั้น ๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์
ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ฯลฯ ทุกข์อันเกิดแต่ทิฏฐิพยสนะ ย่อมติด
ตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นฉันนั้น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.
เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น
เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น
ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่
รั่วแล้วฉะนั้น.


ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ



[25] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ